วันศุกร์ที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2562

Diary 18
Thursday 28 November 2019.


Knowledge Summary
   วันนี้เป็นการสอบสอนของเพื่อนที่ยังไม่ได้สอบ และเพื่อนที่แก้ไขในการสอบใหม่

นางสาวปรางทอง สุริวงศ์ (หน่วยผักผลไม้)
คำแนะนำจากอาจารย์ : ควรมีผักและผลไม้ของจริง และมีพื้นที่ในการเขียนคำศัพท์


นางสาวบงกชกมล ยังโยมร (หน่วยบ้านแสนสุข)
คำแนะนำจากอาจารย์ : มีผังลอยเอาของใช้ภายในห้องต่างๆมาติด


นางสาวอุไรพร พวกดี (หน่วยวัฏจักรการเกิดฝน)
คำแนะนำจากอาจารย์ : วัฏจักรควรเป็นภาพที่ถอดติดได้ และมีการทดลองการเกิดฝน


นางสาวสิริวดี นุเรศรัมย์ (หน่วยฝน)
คำแนะนำจากอาจารย์ : ควรมีของใช้ในหน้าฝนให้ครบ นำมาให้เด็กดู


นางสาวอภิชญา โมคมูล (หน่วยไข่)
คำแนะนำจากอาจารย์ : ให้สอนในลักษณะของไข่ไปเลย ให้เปรียบเทียบแค่ 2 ชนิด และชนิดของไข่ ไข่เยี่ยวม้า ไข่เค็ม เป็นการแปรรูป 


นางสาวชนนิกานต์ วัฒนา (หน่วยดวงจันทร์ ดวงอาทิตย์)
คำแนะนำจากอาจารย์ : เลือกคำคล้องจองให้เหมาะสม


นางสาวสุชัญญา บุญญะบุตร (หน่วยร่างกายของฉัน)
คำแนะนำจากอาจารย์ : รูป และคำศัพท์ควรใหญ่กว่านี้


นางสาววิจิตรา ปาคำ (หน่วยนม ประโยชน์ของนม)
คำแนะนำจากอาจารย์ : ควรเลือกเนื้อหาให้เหมาะสม และตรงกับหัวข้อ




นางสาวสุภาพร   วัดจัง (หน่วยต้นไม้)
คำแนะนำจากอาจารย์ : แก้ไขในครั้งนี้ดีแล้ว


นางสาวกิ่งแก้ว ทนนำ (หน่วยนม ชนิดของนม)
คำแนะนำจากอาจารย์ : ควรหาข้อมูลให้มากกว่านี้ เกี่ยวกับนมพาสเจอร์ไรส์ และนมสเตอริไรส์


นางสาวประภัสสร แทนด้วง (หน่วยอาหารดีมีประโยชน์)
คำแนะนำจากอาจารย์ : ไม่ควรมีแผ่นชาจการเจริญเติมโต ไม่เกี่ยวกับอาหารดีมีประโชน์ และให้มีแบบครั้งที่แล้วดีแล้ว นำผักสลัดมาและให้เด็กคีบสลัดแยกแต่ละหมู่


Assessment
Self : เข้าเรียนตรงเวลา ตั้งใจฟังเพื่อน
Friend : ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม
Teacher : แต่งกายสุภาพ แนะนำและเสนอในข้อที่ผิดพลาด

วันพุธที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562

Diary 17
Monday 25 November 2019.

Knowledge Summary
   วันนี้เป็นการสอบการเสริมประสบการณ์ ดิฉันสอนในหน่วยนม เรื่องลักษณะนม

หน่วยนมดีมีประโยชน์ 🍼 (เรื่องลักษณะนม)
ขั้นนำ
1.ให้เด็กท่องคำคล้องจอง “ลักษณะนม”
2. สนทนากับเด็กเกี่ยวกับคำคล้องจอง
   - ในคำคล้องจองมีนมสีอะไรบ้าง?
   - ในคำคล้องจองมีนมรสชาติอะไรบ้าง?
   - เด็ก ๆ เคยดื่มนมอะไรบ้าง? แล้วนมที่ดื่มมีรสชาติอย่างไรบ้าง

 ขั้นสอน
1.  ครูเอานมใส่ตะกร้า แล้วเอาผ้าปิด
ไว้ “เด็ก ๆ ลองทายสิคะว่าในตะกร้าคืออะไรเอ่ย”
แล้วเด็ก ๆ ลองนับสิคะว่า มีนมอยู่ในตะกร้าอยู่กี่กล่อง ให้เด็กสังเกตนมจากกล่องว่ามีนมอะไรบ้าง แล้วให้ออกมาติดป้ายคำศัพท์ (นมวัว) (นมถั่วเหลือง)
2. ครูเทนมวัวใส่แก้ว แล้วอธิบายลักษณะของนมว่าเป็นของเหลว เปลี่ยนรูปร่างตามภาชนะ แล้วให้
เด็ก ๆ สังเกต
  - เด็ก ๆ ลองดูสิคะ ว่านมมีสีอะไร
  - เด็ก ๆ ลองดมสิคะ ว่านมมีกลิ่นอย่างไร
  - เด็ก ๆ ลองชิมสิคะ ว่านมมีรสชาติอย่างไร
  - ให้เด็ก ๆ สังเกตคุณสมบัติของนม นมเป็นของเหลว
  - ให้เด็ก ๆ บอกสี กลิ่น รสชาติ คุณสมบัติ ของนมแต่ละชนิดบนแผ่นชาร์ด














ขั้นสรุป
1. เปรียบเทียบความเหมือน - ความต่าง ระหว่างนมวัว กับนมถั่วเหลือง ว่ามีอะไรที่เหมือน และแตต่างกัน













🍭ภาพการสอน🍭









🍒แผนการสอน🍒


ข้อเสนอแนะจากอาจารย์ : ขั้นสรุปเปรียบเทียบความเหมือนความต่าง ให้เปรียบเทียบความเหมือนก่อน

Teaching Methodes
   - ให้นักศึกษาได้ลองสอนด้วยตนเองก่อน และคอยปรับแก้แนะนำแนวทางสิ่งที่ถูกต้อง

Apply
   - นำข้อดีและข้อผิดพลาดในวันนี้นำไปพัฒนาตนเอง เก็บข้อแนะนำจากอาจารย์ไปปรับปรุงให้ดีขึ้น

Assessment
💖Self : เข้าเรียนตรงเวลา ตั้งใจฟังอาจารย์
💜Friend : ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม
💚Teacher : แต่งกายสุภาพ 

วันศุกร์ที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562

Diary 16
Monday 18 November 2019.

Knowledge Summary
   วันนี้อาจารย์ให้ทำกิจกรรมที่ส่งเสริม EF (Executive Function)


💥กิจกรรม💥

เริ่มจากทำเป็นกลุ่มใหญ่ โดยเดินและปรบมือตางจังหวะเพลง พอจังหวะเปลี่ยนให้ทำท่าของตนเอง
ต่อมากลุ่มย่อยให้จับกลุ่ม 2 กลุ่ม ให้เพื่อนอยู่ตรงกลาง 1 คน ปรบมือพร้อมเดินไปรอบๆวงกลม พอ
จังหวะเปลี่ยนให้เลือกเพื่อนและทำท่า ให้เพื่อนทำท่าตาม และให้เพื่อนไปต่อหลัง ทำซำ้จนครบทุกคน
ริ่มจากใช้พัดตบที่หน้าตัวเอง แล้วตบเข่าซ้ายแล้ววางที่ด้านขวามือของเพื่อน
รอบต่อไป หลับตาทำแบบเดิม
➤ กิจกรรมทั้งสองกิจกรรมนี้ช่วยส่งเสริมในเรื่องของ EF ในด้าน เลือกคิดไตร่ตรอง เช่น การทำท่าทาง ยืดหยุ่น เช่น การปรับให้เข้ากับสถานการณ์ จดจ่อใส่ใจ เช่น เปลี่ยนท่าตอนไหน ทำท่าให้ใคร

EF (Executive Function)
ทักษะพื้นฐาน 
   1. จำแล้วนำไปใช้
   2. เลือกคิดไตร่ตรอง
   3. ยืดหยุ่น
การกำกับตนเอง
   4. จดจ่อ ใส่ใจ
   5. ควบคุมอารมณ์
   6. ติดตามประเมินตนเอง
ปฏิบัติ
   7. ริเริ่มและลงมือทำ
   8. วางแผนจัดระบบดำเนินการ
   9. มุ่งเป้าหมาย


ไฮสโคป (High Scope)

เริ่มต้นจากที่ ดร.เดวิส ไวคาร์ท จัดทำร่วมกับคณะวิจัยเพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบไฮสโคป มีจุดมุ่งหมายเพื่อช่วยเด็กด้อยโอกาส

องค์ประกอบของไฮสโคป 
   1.เปิดโอกาสให้เด็กเลือกและตัดสินใจเอง 
   2.จัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์ให้มีความหลากหลาย 
   3.พื้นที่และเวลา พื้นที่ต้องเพียงพอกับกิจกรรม 
   4.เน้นให้เด็กใช้ประสาทสัมผัส 
   5.ภาษาจากเด็กเป็นสิ่งที่สะท้อนความเข้าใจออกมาเป็นคำพูด 
   6.ครูคือผู้สนับสนุนชี้แนะเป็นคนคอยรับฟังและส่งเสริมให้เด็กคิด


หัวใจของไฮสโคป วงล้อแห่งการเรียนรู้
   1.การเรียนรู้แบบ Active learning  
   2.เรื่องของการปฏิสัมพันธ์ทางบวก  
   3.เรื่องของการจัดสภาพแวดล้อมเพื่อให้เอื้อต่อการเรียนรู้  
   4.การจัดกิจวัตรประจำวัน ซึ่งประกอบไปด้วยเรื่องของการจัดกิจกรรมกลุ่มใหญ่ กลุ่มย่อย และการใช้  กระบวนการวางแผน ลงมือปฏิบัติ และทบทวน P/D/R 
   5.การประเมิน ประเมินหลักสูตร ประเมินพัฒนาการ

 P/D/R 
   1.Plan คือ การวางแผนเป็นกระบวนการที่ให้เด็กได้คิด 
   2.Do คือ การปฏิบัติลงมือทำตามแผนที่วางไว้เด็กได้คิดแก้ปัญหาด้วยตนเอง 
   3.Review คือ การทบทวนเล่าถึงการทำงานเป็นไปตามที่วางไว้หรือไม่ เด็กได้เชื่อมโยงแผนการปฏิบัติกับผลงาน

- ไฮสโคปสอนให้เด็กรู้จักวางแผน และไม่เปลี่ยนแผนทำตามแผนที่วางไว้ ฝึกการมีความมั่นใจในตนเอง

Teaching Methodes
   - นำเอานวัตกรรมทางการศึกษามาคิดกิจกรรมที่ส่งเสริมในด้านต่างๆ ทำให้เห็นถึงกิจกรรมที่จะนำไปใช้กับเด็กและต่อยอดว่าสามารถทำสิ่งนี้เพื่อพัฒนาเด็กให้ได้ทักษะต่างๆได้

Apply
   - นำกิจกรรมที่อาจารย์สอน ไปเป็นแนวทางต่อในการนำเอานวัตกรรมต่างๆมาคิดกิจกรรมที่เหมาะกับเด็กปฐมวัย

Assessment
💛Self : เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายเรียบร้อย
💙Friend : ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม
💕Teacher : สอนได้เข้าใจและสอดแทรกความรู้ต่างๆ คอยถามกระตุ้นอยู่เสมอ

วันอังคารที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562

Diary 15
Monday 11 November 2019.

Knowledge Summary
   วันนี้ที่ตึกคณะศึกษาศาสตร์มีการขนย้ายของไปยังตึกใหม่ และมีการจัดสภาพห้องเรียนใหม่ให้น่าเรียนมากยิ่งขึ้น พวกเราจึงช่วยกันขนย้ายของและจัดระเบียบห้องปฎิบัติการสาขา



Assessment
💚Self : แต่งกายสุภาพเรียบร้อย เข้าเรียนตรงเวลา
💛Friend : เพื่อนๆให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี
💜Teacher : แต่งกายสุภาพ 
Diary 14
Monday 4 November 2019.

Knowledge Summary
   ไม่มีการเรียนการสอนเนื่องจากมีการประชุมสุดยอดอาเซียนในวันที่ 4 - 5 พฤศจิกายน เพื่อลดปัญหาการจราจรติดขัดจึงมีการประกาศหยุด


Diary 13
Monday 2 September 2019.

Knowledge Summary
     วันนี้อาจารย์กรรณิกา มาพูดให้ความรู้ในเรื่องสารนิทัศน์

"สารนิทัศน์"
สารนิทัศน์ 
     หมายถึง หลักฐานข้อมูล เอกสารที่จัดเป็นระบบ ผ่านการไตร่ตรอง สะท้อนครู นักเรียน

คุณค่าและความสำคัญ
     โดยการไตร่ครองสะท้อนความคิดและการประเมินตนเอง
1. สารนิทัศน์การเรียนรู้ของเด็กสนองความต้องการในการประกันคุณภาพ
2. ครูที่จัดสารนิทัศน์มักจะสอนเด็กผ่านประสบการณ์ตรง
3. ช่วยให้การสอน หรือการทำงานของครูมีประสิทธิภาพ
4. ช่วยให้ครูจัดกิจกรรมประสบการณ์การเรียนรู้ให้เหมาะสมกับพัฒนาการ
5. เด็กรับรู้คุณค่าของการเรียนรู้
6. ช่วยให้ผู้ปกครองงเข้าใจพัฒนาการ

รูปแบบไตรตรองสารนิทัศน์
1. พอร์ตโฟลิโอ
2. ภาพถ่าย
3. หลักฐานการเรียนรู้ของเด็กเป็นรายบุคคล เช่น คำถาม และการสนทนา
4. หลักฐานเกี่ยวกับครูผู้สอน

กิจกรรมหลัก 4 กิจกรรม โดยใช้วิธีการไตร่ตรองสารนิทัศน์
1. กิจกรรมการเก็บรวบรวมหลักฐาน
2. กิจกรรมแบบไตร่ตรองสะท้อนเด็ก
3. กิจกรรมสะท้อนความก้าวหน้า

ประเภทของสารนิทัศน์ 5 ประเภท
1. บทสรุปโครงการ ระยะที่ 1 หาหัวเรื่องที่จะเรียน ระยะที่ 2 ระยะพัฒนาโครงการ ระยะที่ 3 สรุป
2. การสังเกตพัฒนาการเด็กบันทึกพฤติกรรมเด็ก
3. พอร์ตฟอลิโอ ภาพสะท้อนพัฒนาการ
4. ผลงานเด็กเป็นรายบุคคล ผลงานแบบกลุ่ม
5. สะท้อนตนเอง

ผังกราฟฟิก
1. ความคิดรวบยอด (Web diagram)
2. แสดงความสัมพันธ์ (Ven Diagrams) (T-Chat) One Tail 2 ช่อง Two Tail 3-4 ช่อง
3. เชื่อมโยงของสาเหตุ (ผังใยแมงมุม)
4. จัดเรียงลำดับข้อมูล (ลูกโซ่)
    4.1 ผังวัฏจักร
5. ผังกราฟฟิกแบบจัดกลุ่มจำแนกประเภท
6. แผนภูมิต้นไม้
7. ผังกราฟ

Teaching Methodes
     - อาจารย์มีเพลงมาให้เต้นตื่นตัวก่อนเรียน และมีเทคนิคสอดแทรกระหว่างเรียน และให้ฝึกเขียนการสะท้อนตนเอง

Apply
     - นำความรู้ที่ได้รับไปจัดฝึกเขียนสะท้อนตนเองบ่อยๆ และนำผังกราฟฟิกไปใช้ในการเขียนชาร์ทต่างๆให้มีความหลากหลายมากยิ่งขึ้น


Assessment
💙Self : เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายสุภาพ
💜Friend : ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม
💛Teacher : สอนสนุก เข้าใจง่าย แต่งกายสุภาพ

Diary 12
Monday 21 October 2019.

Knowledge Summary
     กิจกรรมที่ส่งเสริม STEM

กิจกรรมที่ 1
ให้แบ่งกลุ่ม และวาดรูปแม่นำ้ ให้เพื่อนทายว่าคือแม่นำ้ที่ไหน (แม่นำ้โขง)
กิจกรรมที่ 2
หลังจากวาดแม่นำ้้เสร็จแล้วให้ทำที่สูบนำ้ วัสดุอุปกรณ์ที่ดังนี้ 1.กระดาษหนังสือพิมพ์  2.พาน 3.เทป 4.กรรไกร โดยให้สร้างให้วางหนังสือได้ 8 เล่ม ไม่ให้ตก
 - กิจกรรมมีข้อกำหนดโดยหนังสือพิมพ์จะต้องไปสูง และเทปกาวที่มีจำกัด ต้องคิดและวางแผนก่อนทำจะทำยังไงให้วางหนังสือได้


กิจกรรมที่ 3
หลังจากทำที่สูบนำ้แล้ว ให้สร้างสไลเดอร์ วัสดุอุปกรณ์มีดังนี้ 1.หลอด 2.เทป 3.ลูกปิงปอง โดยทำให้ลูกปิงปองไหลช้าที่สุด

➤  กิจกรรมนี้ได้ในเรื่องของ STEM 
S ➝ ได้ในเรื่องแรงโน้มถ่วง แรงเสียดทาน นำ้หนัก 
T ➝ อุปกรณ์วัสดุต่างๆ
E ➝ การออกแบบ
M ➝ มุมระดับ จำนวนหลอด

Teaching Methodes

     - เปิดโอกาสให้นักศึกษาได้ลงมือทำกิจกรรม และทำให้เห็นภาพในการนำ STEM ไปจัดเป็นกิจกรรม

Apply
     - นำกิจกรรมที่อาจารย์สอนไปต่อยอดคิดกิจกรรมที่สร้างสรรค์

Assessment
💚Self : เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายสุภาพ
💗Friend : ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม
💛Teacher : แต่งกายสุภาพ